ดร.เมธี จันทวิมล กับมุมมองในการจัดพอร์ตการเงินเพื่อคนวัยเกษียณให้กับนักลงทุนของ FINNOMENA
เนื่องจากในยุคปัจจุบันพบว่าผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีอยู่ในตลาดในวันนี้อาจจะยังไม่ได้ตอบโจทย์ทั้งหมดสำหรับคนในวัยเกษียณ จึงทำให้คนวัยนี้มีความกังวลในการลงทุน หากจะลงทุนด้วยการซื้อกองทุนกองเดียวที่เป็นตราสารหนี้ทั้งหมดแล้วรอกระแสเงินสดนั้นบางครั้งก็ไม่ได้จ่ายแบบสม่ำเสมอ หากไปซื้อที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ความเสี่ยงก็ค่อนข้างสูงมาก ผมเลยมีมุมมองว่าอยากจะจัดพอร์ตการลงทุนเพื่อให้ความเสี่ยงนั้นสมดุลสำหรับคนวัยเกษียณโดยเฉพาะ อย่างน้อยหากคนวัยนี้ลงทุนในพอร์ตนี้ก็จะได้มีความสบายใจ
จากเหตุผลข้างต้นผมร่วมกับ FINNOMENA จัดทำพอร์ต RIS (Retirement Income Solution) ขึ้นมาเพื่อมุ่งเน้นการสร้างผลตอบแทนในรูปกระแสเงินสดประมาณ 3-4% โดยควบคุมความเสี่ยงไว้ไม่ให้เกิน 5% ซึ่งหมายความว่าเวลาขาดทุนทั้งพอร์ตไม่ควรติดลบเกิน 5% หากขาดทุนเกิน 5% ขึ้นไปคนวัยเกษียณจะมีความกังวลขึ้นมาทันทีว่าเงินหาย
แล้ว 5% นี้ช่วยอะไร?
ยกตัวอย่างเช่น ผมมีเงิน 1 ล้านบาท และนำไปลงทุนแล้วเกิดขาดทุน 5% นั่นหมายความว่าเงินของผมหายไป 50,000 บาท เงินจะเหลือ 950,000 บาท แบบนี้อาจจะเห็นภาพได้ชัดขึ้นว่าเงินที่หายไปนั้นค่อนข้างมากทีเดียว
ด้วยกระบวนการของพอร์ต RIS นี้ จะทำงานด้วยตัวของมันเองซึ่งจะสามารถสร้างผลตอบแทนชดเชยผลตอบแทนที่หายไปภายใน 1-2 ปี และก็จะได้ผลตอบแทนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการออกแบบพอร์ตนี้ ตั้งใจให้เป็นพอร์ตที่มีความเสี่ยงต่ำจึงทำให้คนวัยเกษียณสามารถถือพอร์ตนี้อย่างสบายใจและถือได้แบบนานๆ ยังได้รับผลตอบแทนใกล้กับหุ้นกู้ที่มีอันดัยความน่าเชื่อถือที่ดี และให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝาก โดยมีการผสมผสานหุ้นเข้าไปในพอร์ตด้วยเพื่อให้เกิดการเติบโตของเงินลงทุนในระยะยาว
มากไปกว่านั้นเราพบว่าการลงทุนผ่านกองทุนรวมมีข้อจำกัดข้อหนึ่งคือ หากเราเลือกกองทุนที่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล ในการจ่ายเงินปันผลแต่ละครั้ง เงินปันผลที่ได้รับจะต้องหักภาษี 10% ณ ที่จ่าย และที่จ่ายจะโอนกลับเข้าไปในบัญชีออมทัรพย์ ซึ่งทำให้ลูกค้าเสียประโยชน์ 10% ตรงนี้ไป เพราะฉะนั้นเราจึงเลือกกองทุนที่เรียกว่า “ขายหน่วยลงทุนคืน” ซึ่งเมื่อขายหน่วยลงทุนแล้วเงินจะกลับเข้าไปที่ Money Market เป็นกองตราสารเงินซึ่งลูกค้าจะไม่เสียภาษี
ในขณะเดียวกันจากประสบการณ์ที่ดูแลลูกค้าวัยเกษียณมาอย่างยาวนานคือ เวลาเงินหรือกำไรที่ได้จากการลงทุนกลับเข้าไปในบัญชีออมทรัพย์แล้ว ลูกค้าส่วนใหญ่จะไม่นำกลับมาลงทุนอีก บางครั้งก็ถอนออกไปใช้อย่างอื่นเลย ดังนั้นในการออกแบบพอร์ต RIS จึงเลือกกองทุนที่มีนโยบายขายหน่วยลงทุนแทน ให้ไปเข้าใน กองทุน Money Market แทน
นอกจากนี้ เรายังคิดเผื่อถึงการปรับพอร์ต RIS ที่กำหนดไว้ประมาณ ปีละ 2 ครั้ง ที่เปิดทางเลือกไว้ให้ลูกค้าถอนเงินเพื่อนำมาใช้จ่ายจากกองทุน Money Market หรือเลือกที่ปรับพอร์ต โดยนำเงินในส่วนของ Money Market มา Reinvest ต่อ ก็จะช่วยให้พอร์ต RIS เติบโตมากขึ้นกว่าเดิม คิดว่าน่าจะตอบโจทย์ลูกค้าในวัยเกษียณได้เป็นอย่างมาก
คนที่เริ่มลงทุนใหม่ในวัยเกษียณอาจจะมีความกังวลหลายอย่าง ซึ่งการมีพอร์ตนี้จะช่วยให้ลูกค้าคลายความกังกลต่างๆได้ เนื่องจากว่าพอร์ตนี้เปรียบเสมือนเครื่องมือในการลงทุนแทนและดูแลเงินคนเกษียณ มีสัดส่วนการลงทุนที่ออกแบบมาเพื่อสร้างกระแสเงินสดให้ผู้ลงทุนทุกเดือน และยังมีโบนัสเพิ่มเติมทุกไตรมาส ดังนั้นพอร์ต RIS นี้เหมาะมากสำหรับผู้ที่อยู่ในวัยเกษียณ วันใกล้เกษียณและผู้ที่ไม่ได้มีความรู้เรื่องการเงินการลงทุนก็สามารถลงทุนได้ หากเกิดกรณีที่ลูกค้าจะต้องใช้เงินสดก็สามารถขายได้ แล้วนำเงินสดไปใช้ได้เหมือนเดิม
ความสมบูรณ์ของพอร์ต RIS คือเราคิดแบบครอบคลุมเพื่อคนเกษียณโดยเฉพาะ แม้กระทั่งเรื่องเล็กๆน้อยๆเราก็ใส่ใจในการออกแบบพอร์ตนี้ อีกทั้งเป็นพอร์ตที่ไม่ได้เริ่มต้นด้วยเงินที่เยอะได้
เรียกได้ว่าเป็น “พอร์ตแรกที่สำหรับเริ่มต้นการลงทุนของคนวัยเกษียณ และเป็นพอร์ตที่คนวัยเกษียณต้องมีครับ”