คนส่วนใหญ่มักมองว่า “การเกษียณ” เป็นเรื่องที่ไกลตัวและยังมาไม่ถึง จึงทำให้มองข้ามเรื่องการเกษียณไป
จากสถิติคนไทยมีอายุยืนมากขึ้นและมีแนวโน้มที่จะอายุยืนมากยิ่งขึ้นด้วย เฉลี่ยแล้วอายุจะอยู่ที่ 80 ปีขึ้นไป คนโดยส่วนใหญ่มักจะเริ่มวางแผนเกษีณตอนอายุ 40 ปี จึงทำให้มีเวลาในการเก็บออมเงินเพียง 20 ปีเท่านั้น เพื่อให้มีเพียงพอสำหรับ 20 – 25 ปีหลังเกษียณ
ในช่วงเวลาการเก็บออมเงิน 20 ปีนั้นก็มีค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันด้วย ทำให้การเก็บออมเงินนั้นเป็นไปได้ยากมาก จึงทำให้การเก็บออมเงินนั้นไม่เพียงพอสำหรับการเกษียณ ซึ่งทำให้หลังเกษียณอาจต้องขายทรัพย์สินที่สะสมมา หรือต้องพึ่งพาคนในครอบครัว ส่งผลต่อความสัมพันธ์และทำให้คุณภาพชีวิตหลังเกษียณนั้นแย่ลง
ถ้าเราเข้าใจเรื่องการเตรียมตัวหลังเกษียณตั้งแต่วัยทำงาน เก็บออมเงินอย่างถูกวิธี และลงทุนอย่างถูกต้อง จะทำให้เราสามารถจัดสรรเงินให้ลงตัวได้มากขึ้น และมีโอกาสที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีหลังเกษียณ
และแม้จะมีการเตรียมตัวเพื่อการเกษียณมาแล้ว ช่วงหลังเกษียณก็ยังคงจำเป็นจะต้องจัดการเรื่องของการเงินการลงทุนด้วยเช่นกัน เริ่มต้นจากประเมินรายจ่ายในชีวิตประจำวัน ประเมินสุขภาพของเราว่าเป็นอย่างไรบ้าง ถัดมาคือแหล่งรายได้หลังเกษียณมีอะไรบ้าง มีความแน่นอน มีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน เพื่อช่วยให้เราบริหารสมดุลย์ของรายรับและรายจ่ายหลังเกษียณให้เพียงพอใช้ 20 – 25 ปี และที่สำคัญที่สุดคือต้องจัดการทรัพย์สินให้เรียบร้อยเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคตเวลาที่เราไม่อยู่แล้ว
การวางแผนก่อนเกษียณและการเตรียมตัวบริหารทรัพย์สินหลังเกษียณถือเป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้นเรื่องของการ “เกษียณ” จึงไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวอีกต่อไป…